หากมีการตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลัน
ควรขอรับคำแนะนำจากแพทย์เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง และระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิด
โดยวิธีการปฏิบัติตัวหากมีเชื้ออยู่ในร่างกาย ทำได้ดังนี้
- ไม่ต้องกังวล
หากเป็นตับอักเสบเฉียบพลันชนิดบี
เพราะส่วนใหญ่จะหายได้เองและมีภูมิคุ้มกันตามมา
- รับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
- รับการตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ
เพราะการตรวจเลือดจะทำให้ทราบว่าตับมีการอักเสบมากหรือน้อย
- บอกให้คนใกล้ชิดทราบ
เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี หากคนใกล้ชิดนั้นไม่มีภูมิและเชื้อ
- มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการสวมถุงยางอนามัย
- งดบริจาคเลือด
- ไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
- พักผ่อนให้เพียงพอทั้งร่างกายและจิตใจ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- รับประทานทั้งข้าว
เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ในปริมาณที่พอเหมาะทุกวัน
- รับประทานอาหารสุกและสะอาด
ลดการรับประทานอาหารไขมันสูง เนื้อสัตว์รมควัน และเนื้อสัตว์ที่ไหม้จนเกรียม
หรืออาหารที่เก็บถนอมไว้นานๆ
ไม่รับประทานอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารที่มีเชื้อราขึ้น เช่น
ถั่วลิสงป่นที่เก็บไว้นานๆ อาหารที่ใส่ดินประสิว อาหารหมักดอง เช่น ปลาเค็ม
เนื้อเค็ม แหนม ปลาร้า ผักดอง ไส้กรอก เบคอน แฮม ฯลฯ และเครื่องกระป๋องต่างๆ
ทั้งนี้อาหารประเภทแหนม ปลาร้า เมื่อจะรับประทานต้องทำให้สุกเสียก่อน
เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจส่งเสริมทำให้ตับทำหน้าที่บกพร่องมากขึ้น
- ควรตรวจร่างกายและตรวจเลือดหาระดับสารบ่งบอกมะเร็งตับ
AFP
(alpha-fetoprotein) และทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องสม่ำเสมอทุกปีในกลุ่มเสี่ยง
เช่น มีภาวะตับแข็ง เพศชายอายุมากกว่า 45 ปี
เพศหญิงอายุมากกว่า 50 ปี และมีประวัติมะเร็งตับในครอบครัว
เพื่อหามะเร็งตับในระยะเริ่มแรก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- เมื่อต้องรับการผ่าตัดหรือทำฟันควรแจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบ
- หญิงตั้งครรภ์และคลอดบุตร
ควรฉีดวัคซีนให้บุตรภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
- ลดความเครียดและความกังวลให้น้อยลง
·
การติดตามผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาไวรัสตับอักเสบบี
·
ขณะรักษาผู้ป่วยควรได้รับการตรวจระดับ ALT อย่างน้อยทุก 3
เดือน และ HBeAg อย่างน้อยทุก 6 เดือน ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดควรได้รับการตรวจทุก 2 สัปดาห์ในช่วง 1-2 เดือนแรก หลังจากนั้นทุก 4-6
สัปดาห์ จนสิ้นสุดการรักษาเพื่อดูอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยา
ซึ่งรวมถึงการตรวจนับเม็ดเลือด การตรวจการทำงานของไทรอยด์ และอาการข้างเคียงอื่นๆ
ในผู้ป่วยที่ได้รับยารับประทานควรตรวจการทำงานของไตและระดับฟอสฟอรัสในเลือดร่วมด้วย
·
ภายหลังสิ้นสุดการรักษา
ผู้ป่วยควรได้รับการติดตามเช่นเดียวกับขณะให้การรักษา ซึ่งรวมถึงการตรวจ ALT
ทุก 3 เดือนและ HBeAg/HBeAb (ในกรณีที่ผู้ป่วย HBeAg เป็นบวก) ปริมาณไวรัส
อย่างน้อยทุก 6 เดือน ในผู้ป่วยที่การรักษาได้ผลดี คือ
หลังหยุดการรักษาแล้วอย่างน้อย 6 เดือนยังมีระดับ ALT
ปกติ และมีระดับปริมาณไวรัสต่ำกว่า 2,000 IU/ml และควรติดตามต่อทุก 6 เดือน
·
ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีกลับซ้ำหรือไม่ได้ผลจากการรักษา
ควรติดตามทุก 3-6
เดือน
ข้อมูลทางเวปไซต์ คลิกที่นี่
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง
มะเร็ง
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งกระดูก
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งรังไข่
มะเร็ง ปาก มดลูก
มะเร็ง ลําไส้ ระยะ แรก
มะเร็ง ปาก มดลูก อาการ เบื้องต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น